วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


     อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารถึงกันได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยประหยัดทรัพยากรและที่สำคัญอินเตอร์เน็ตคือคลังสมองอันยิ่งใหญ่หรือห้องสมุดโลกที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งความรู้นั้น

  ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต พอสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการศึกษา (Tele Education) สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจาแหล่งศึกษาหรือผู้ที่สนใจจะลงทะเบียนเรียนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ ฯลฯ สามารถเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเราเรียกว่า การศึกษาทางไกล กลายเป็นทางเลือกใหม่ในการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการศึกษาผ่านทางอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
3. ด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ  อินเตอร์เน็ตจะช่วยในการสื่อสารสืบค้นข้อมูล และใช้ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากรร่วมกันได้ เช่น การส่งข้อมูลประวัติของอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
4. ด้านธุรกิจ (E-Commerce) โดยเฉพาะธุรกิจได้มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นอันมาก ดังต่อไปนี้
    4.1 ด้านการธนาคาร (E-Banking) ธนาคารได้จัดทำระบบออนไลน์บนเครือข่ายที่ช่วยให้สามารถสอบถามยอดเงินและโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว มีการติดต่อสื่อสาร และมีข้อมูลบนเว็บเพจของทุกธนาคาร
    4.2 โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บนอินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
    4.3 การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
5. การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ อีเมล์ (E-mail : Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ประหยัด สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถพูดคุยกันได้เหมือนอยู่ใกล้กัน
6. การประชุมทางไกล (Tele Conference) เป็นการประชุมของบุคคลที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมซึ่งสื่อสารได้ทั้งตัวอักษร เสียงและภาพพร้อมกัน

   


ภัยอินเตอร์เน็ต

          ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้คุณประโยชน์ก็ย่อมจะมีโทษในตัวมันเองสังคมมนุษย์ก็เช่นกันย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป อินเตอร์เน็ตถือได้ว่า เป็นสังคมมนุษย์หนึ่งจากเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางแทนที่จะเป็นคำพูด ท่าท่าง ฯลฯ แต่อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมของคนทั้งโลกที่ไร้พรมแดน (Globalization)
ไม่แบ่งชั้นวรรณะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นภัยแอบแผงอยู่มาก รวมทั้งคนเลวซึ่งได้แก่บรรดามิจฉาชีพ อาชญากรรม (แบบไฮเทค) ได้อาศัยอินเตอร์เน็ต เป้นที่แผงตัวและหากินบนความทุกข์ของผู้อื่น ขอเสนอมุมมองเรื่องราวอินเตอร์เน็ตในแง่ลบเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้เล่นเน็ตอยู่จะได้ระแวดระวังและไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรไฮเทคเหล่านี้     หลายคนคงทราบว่าในอินเตอร์เน็ตมีสิ่งยั่วยุกามารมณ์ที่ส่อไปในทางลามกอนาจารอยู่มาก ถึงแม้จะไม่มีผลเสียที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา ต้องยอมรับว่ากว่า 50 % ของผู้ชายที่เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในครั้งแรก ๆ มักจะไปท่องหาเว็บที่มีภาพนู้ด ภาพโป้ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นการใช้เครื่องที่บ้าน ที่มีลูกหลานกำลังเรียนรู้และพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไปเข้าเว็บไซต์เหล่านั้น โดยไม่รู้ตัว เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องเว็บจะมีการเก็บบันทึกหมายเลขที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL – address) เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นในครั้งต่อไปซึ่งหมายเลขที่อยู่นี้สามารถถูกเรียกกลับขึ้นมาใช้ได้ง่าย ๆ เด็ก ๆ อาจจะเผลอไปเรียกเข้าก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ทันที และอาจจะกลับไปดูซ้ำในครั้งต่อ ๆ ไป หากผู้ปกครองละเลยนาน ๆ เข้าภาพเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในความคิด ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเทศกับเพศตรงข้ามที่ส่อไปในทางที่ผิดและอาจเลยไปถึงกระทำความผิดอาญาได้เมื่อโตขึ้น ภัยประเภทนี้ผลเสียจึงเกิดขึ้นในทางอ้อมโดยจะตกอยู่กับเด็กซึ่งเป็นลูกหลานและครอบครัว








ประวัติความเป็นมา 

        อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

        ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

        ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน

        ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

        ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

        ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines
: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)

       ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet) 



1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้



        
          องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล 
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)


          
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต



การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 

1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network) 
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN

องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN

1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )

 2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)            

             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps

และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps




องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม   
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net


3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop) 

          ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbp และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ

องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย ADSL

              1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
              2. Splitter ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่สูงของ ADSL จากสัญญาณโทรศัพท์แบบธรรมดา
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL ประกอบด้วย Asia Net, Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net 

 4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet) 
      เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download)ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาทีแต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
           
       องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยดาวเทียม 

1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3.โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4.ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet
ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น




IP Address




ลักษณะการใช้ไอพีแอดเดรสในองค์กร มีวิธีการจัดสรรและกำหนดเพื่อให้ใช้งาน แต่เนื่องจากหลายหน่วยงานติดขัดด้วยจำนวนหมายเลขที่ได้รับ เช่น องค์กรขนาดใหญ่ แต่ได้รับคลาส C จึงย่อมสร้างความยุ่งยากในการสร้างเครือข่าย

        ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส   คำว่าไอพีแอดเดรส  จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th   เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์



11101001110001100000001001110100

แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น


11101001110001100000001001110100
158     .108     .2     .71




         เมื่อตัวเลขไอพีแอดเดรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้ไอพีแอดเดรสเริ่มหายากขึ้น การกำหนดไอพีแอดเดรสเน้นให้องค์กรจดทะเบียนเพื่อขอไอพีแอดเดรสและมีการแบ่งไอพีแอดเดรส ออกเป็นกลุ่มสำหรับองค์กร เรียกว่า คลาส โดยแบ่งเป็น คลาส A คลาส B คลาส C คลาส A กำหนดตัวเลขในฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนด ดังนั้นจึงมีไอพีแอดเดรสในองค์กรเท่ากับ 256 x 256 x 256 คลาส B กำหนดตัวเลขให้ สองฟิลด์ ที่เหลืออีกสองฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนดดังนั้นองค์กรจึงมีไอพีแอดเดรส ที่กำหนดได้ถึง 256 x 256 = 65536 แอดเดรสคลาส C กำหนดตัวเลขให้สามฟิลด์ที่เหลือให้องค์กรกำหนดได้เพียงฟิลด์เดียว คือมีไอพีแอดเดรส 256

       เมื่อพิจารณาตัวเลขไอพีแอดเดรส หากไอพีแอดเดรสใดมีตัวเลขขึ้นต้น 1-126 ก็จะเป็นคลาส A ดังนั้นคลาส A จึงมีได้เพียง 126 องค์กรเท่านั้น หากขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B เช่น ไอพีแอดเดรสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นต้นด้วย 158 จึงอยู่ในคลาส B และหากขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C ลักษณะการใช้ไอพีแอดเดรสในองค์กรจึงมีวิธีการจัดสรรและกำหนดเพื่อให้ใช้งาน แต่เนื่องจากหลายหน่วยงานติดขัดด้วยจำนวนหมายเลขที่ได้รับ เช่นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ได้รับคลาส C จึงย่อมสร้างความยุ่งยากในการสร้างเครือข่ายสำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีไอพีคลาสบี จึงได้แบ่งและจัดสรรไอพีแอดเดรสให้กับหน่วยงานต่างๆได้อย่างพอเพียง ไอพีแอดเดรสแต่ละกลุ่มที่ได้รับการจัดสรร จะได้รับการควบคุมการกำหนดเส้นทางโดยอุปกรณ์จำพวก เราเตอร์ และสวิตชิ่ง




          ทำนองเดียวกัน หน่วยงานย่อยรับแอดเดรสไปเป็นกลุ่มก็สามารถนำไอพีแอดเดรส ที่ได้รับไปจัดสรรแบ่งกลุ่มด้วยอุปกรณ์เราเตอร์หรือ สวิตชิ่งได้ การกำหนดแอดเดรสจะต้องอยู่ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น มิฉะนั้นอุปกรณ์เราเตอร์จะไม่ สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้ 
ไอพีแอดเดรสจึงเป็นรหัสหลักที่จำเป็นในการสร้างเครือข่าย เครือข่ายทุกเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดแอดเดรส สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดสรรกลุ่มไอพีไว้ให้หน่วยงานต่างๆอย่างพอเพียงโดยที่แอดเดรสทุกแอดเดรสที่ใช้ใน กลุ่ม เช่น การเซตให้กับพีซีแต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน รหัสไอพีแอดเดรสจึงเป็น
โครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีค่าสำหรับองค์กร 

          หากองค์กร เรามีไอพีแอดเดรสไม่พอ หรือ ขาดแคลนไอพีแอดเดรสจะทำอย่างไร เช่นมหาวิทยาลัย ก. เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แต่ได้คลาส C ซึ่งมีเพียง 256 แอดเดรสแต่มีผู้ที่จะใช้ไอพีแอดเดรสเป็นจำนวนมาก สิ่งที่จะต้องทำคือ มหาวิทยาลัย ก. ยอมให้ภายนอกมองเห็นไอพีแอดเดรสจริงตามคลาส C นั้น ส่วนภายในมีการกำหนดไอพีแอดเดรสเอง โดยที่ไอพีแอดเดรสที่กำหนดจะต้องไม่ปล่อยออกภายนอก เพราะจะซ้ำผู้อื่นผู้ดูแลเครือข่ายต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่อง เป็นตัวแปลงระหว่างแอดเดรสท้องถิ่น กับแอดเดรสจริงที่จะติดต่อภายนอก วิธีการนี้เรียกว่า NAT = Network Address Translator



ซึ่งแน่นอนก็ต้องสร้างความยุ่งยากเพิ่มเติม และทุกแพกเก็ต IP จะมีการแปลงแอดเดรสทุกครั้ง ทั้งขาเข้าและขาออก จึงทำให้ประสิทธิภาพการติดต่อย่อมลดลง ซึ่งแตกต่างกับการใช้ไอพีแอดเดรสจริง





Domain Name



           Domain Name ( โดเมนเนม ) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่นwww.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน ( Domain Name Server ) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน
  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
  3. ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
  4. ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
  5. ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-mail
  6. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ


อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม

  • ชื่อ Domain สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
  • ชื่อ Domain โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
  • ชื่อ Domain มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
  • ชื่อ Domain ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
  • ชื่อ Domain ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space

หลัการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย

  1. ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
  2. ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
  3. ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ในประเทศ
  4. ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
  5. ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้
    1. อ่านออกเสียงได้ตรงกัน
      - มีความหมายตรงกัน
    การจดทะเบียนโดเมน การจดทะเบียนโดเมน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
    2.           การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .co.th, .or.th, .ac.th, in.th เช่นนามสกุล ".CO.TH" มีคนจดมากกว่าชนิดอื่นๆ เป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อบริษัท หรือชื่อย่อของชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการจดทะเบียนจึงต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐาน
      • โดเมน นามสกุล .OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
      • โดเมน นามสกุล .AC.TH เป็นเวบไซตืของสถานศุกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
      • โดเมน นามสกุล .IN.TH เป็นเวบไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
      • โดเมน นามสกุล .GO.TH เป็นเวบไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ โดเมน นามสกุล NET.TH เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย








             การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ มีกฏระเบียบมาก ต้องจดทะเบียน โดเมน แบ่งประเภทตามที่เขาแบ่งไว้ จึงจดทะเบียน โดเมน ได้ยากกว่าการจดทะเบียน โดเมน ต่างประเทศ ปัจจุบันการจดทะเบียน โดเมน ภายในประเทศ ยังถือว่ามีน้อยมาก เนื่องจากการจดทะเบียน โดเมน มีข้อยุ่งยากดังที่กล่าวข้างต้น และมูลค่าของเว็บไซต์มักจะถูกมองว่ามีค่าน้อยกว่าการจดเบียน โดเมน ที่มีนามสกุลเป็น".COM" กับศูนย์จดทะเบียนโดเมน ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่มีความสามารถเหมือนกัน




    2. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ    
    การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศจะได้นามสกุล โดเมน เป็น .COM .NET .ORG

      • โดเมน นามสกุล .COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
      • โดเมน นามสกุล .NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
      • โดเมน นามสกุล .ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
      • ปัจจุบันได้เกิด โดเมน ชนิดอื่นขึ้นอีกมากมาย เนื่องจากว่ามีการพยายามแบ่งประเภทเว็บไซต์ออกไป และขณะเดียวกันชื่อ โดเมน ก็เหลือน้อยลง ดังมีรายละเอียดดังนี้
      • โดเมน นามสกุล .cc เป็น โดเมน ที่คาดว่าน่าจะมีความนิยมทัดเทียมกับ .com ในเวลาอันใกล้นี้เนื่องจาก .com แทบจะไม่มีชื่อดีๆ เหลืออยู่แล้ว การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไปได้
      • โดเมน นามสกุล .biz สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจโดยทั่วไป เป็น โดเมน น้องใหม่ พึงเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มธุรกิจที่เป็น ธุรกิจจริงๆ ซึ่งก็ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักค่อนข้างเร็ว
      • โดเมน นามสกุล .info ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
      • โดเมน นามสกุล .ws เป็นชนิดของชื่อเว็บไซต์หนึ่งที่พยามยามสร้างขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ .cc การนำไปใช้งานสามารถนำไปใช้ได้กับทุประเภทเว็บไซต์
      • โดเมน นามสกุล .tv เป็นเว็บไซต์ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง ปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมจากเว็บไซต์ประเภทสื่อพอสมควร
            แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
      โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ


    *.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์

    * .ac คือ สถาบันการศึกษา

    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล

    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย

    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร



    Web Browser

              เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

         ประโยชน์ของ Web Browser
      
      สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page


    รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

    • Internet Explorer 
    • Mozilla Firefox 
    • Google Chrome 
    • Safari 
     


    อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

    อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
           
             อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร  

             จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร 


                


            ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมาเครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง 

           
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต" หรือ ISP (Internet Service Provider)

           
    ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้


    Social Network

    ความหมายของเครือข่ายสังคม (Socail network) มีผู้อธิบายไว้หลายท่านดังนี้


               ประดนเดช นีละคุปต์ (2551) อธิบายว่า เป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันโดยทางใดทางหนึ่ง โดยอาศัยเทคโนโลยีเว็บ อนงค์นาฎ ศรีวิหค (2551) อธิบายว่า เป็นการเชื่ยมโยงประชากรเข้าด้วยกัน

    อิทธิพล ปรีติประสงค์ (2552:http://gotoknow.org/blog/virtualcommunitymanagement/288469) กล่าวว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฎการณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต และ ยังหมายรวมถึง การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เข้าด้วยกัน ในแง่ของการให้ความหมายของคำว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์” นั้น คุณเก่ง หรือ กติกา สายเสนีย์ ในเว็บบล็อก http://keng.com/2008/08/09/what-is-social-networking/ ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจว่า

              Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น

            ในแง่ของการอธิบายถึงปรากฎการณ์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังมีการอธิบายผ่านคำว่า Social network service หรือ SNS เป็นการเน้นไปที่การสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งผู้คนสามารถที่จะแลกเปลี่ยน แบ่งปันตามผลประโยชน์ กิจกรรม หรือความสนใจเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาศัยระบบพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้คนโดยแต่ละเว็บนั้นอาจมีการให้บริการที่ต่างกัน เช่น email กระดานข่าว และในยุคหลังๆมานี้ เป็นการแบ่งปันพื้นที่ให้สมาชิกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกันและแบ่งปันข้อมูลระหว่างโดยผู้คนสามารถสร้างเว็บเพจของตนเองโดยอาศัยระบบซอฟท์แวร์ที่เจ้าของเว็บให้บริการ

            ในขณะเดียวกัน Howard Rheingold ได้เขียนคำจำกัดความของคำว่า virtual Community ในหนังสือ virtual communy ว่าหมายถึง การสื่อสาร และ ระบบข้อมูล ของบรรดาเครือข่ายสังคม ซึ่งแบ่งปันในผลประโยชน์ร่วมกัน ความคิด ชิ้นงาน หรือ ผลลัพธ์บางประการที่มีการโต้ตอบกันผ่านสังคมเสมือนจริง ซึ่งไม่ถูกผูกพันโดยเวลา พรมแดน เขตแดนของหน่วยงาน และในทุกๆที่ที่บุคคลสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์ (คัดลอกจาก Virtual community)
           ในขณะที่ การแบ่งหมวดหมู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ได้จำแนกหมวดหมู่ หรือ ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ใน บทบาทของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการเข้าเป็นสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ กล่าวคือ

    (๑) Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น http://www.hi5.com/http://www.facebook.com/
    (๒) Interested Network เป็นการรวมตัวกันโดยอาศัย“ความสนใจ” ตรงกัน เช่น Digg.com , del.icio.us
    (๓) Collaboration Network เป็นกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกัน “ทำงาน” ยกตัวอย่างเช่นhttp://www.wikipedia.org/
    (๔) Gaming/Virtual Reality หรือ โลกเสมือน ในบางครั้งเราเจอคำว่า second life ซึ่งเป็นลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นในชีวิตจริงกับตัวละครในเกม และ (๕) Professional Network ใช้งานในอาชีพ “

          





    วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ความรู้เรื่อง Blog




    Blog  คืออะไร


    มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามผมบ่อย ๆ เวลาไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ว่า “Blog คืออะไร” กันดีกว่าครับ
    Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
    ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
    มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเ ทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเทศ ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเทศต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
    จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
    ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPressMovable Type เป็นต้น
    ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
    เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
    และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
    สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
    อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะครับ


    ชนิดของ Blog

    เทคโนโลยีของ Blog ที่ใช้ง่าย ทำให้มีผู้ใช้ในวงกว้าง และมีความหลากหลาย นี่เป็นแค่ตัวอย่างประเภทของ Blog ส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และมี Blog อยู่มากมายที่ได้ผสมผสานความหลากหลายประเภทเอาไว้ในตัว
    Business
    ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนสมัครเล่นและนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ใช้ Blog เป็นที่แบ่งปันความรู้ ทริปต์ เทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ Blog ประเภท Business ยังใช้เป็นที่โปรโมตและทำลายชื่อเสียงทางธุรกิจ ใช้เป็นที่อภิปรายโต้เถียงกันถึงแนวทางของเศรษฐกิจ หรือใช้เป็นที่เผยแพร่ข้อมูลก็ได้เช่นกัน
    Clubbox
    Clobbox เป็น Blog อีกประเภทหนึ่งที่แพร่หลายมาในแถบเอเชียตะวันออก โดยผู้เป็นเจ้าของ Blog ส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียค่ารายเดือน สามารถโพสข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ และไฟล์วิดีโอ เข้าไปได้ทุกวัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดเตรียมพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อรองรับไฟล์เหล่านี้ และยังมี Bandwidth สำหรับส่งข้อมูลขึ้นไปโพสขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มความรวดเร็วอีกด้วย
    Cultural
    Cultural Blog เป็น Blog ที่ใช้เพื่อการสาธยาย อภิปราย โต้เถียง กันในเรื่องเพลง กีฬา ภาพยนตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่กำลังเป็นที่นิยม
    MoBlog
    MoBlog หรือ mobile Blog นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเนื้อหาจากอินเตอร์เน็ต จากผู้ขายมือถือ หรือเจ้าของแบรนด์มือถือ หรือ PDA ยี่ห้อต่าง ๆ และอาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์บนมือถือด้วย
    Online diary
    ถ้าจะพูดถึง Blog ในแง่ทั่วไปแล้วบ่อยครั้งที่ใช้เพื่อการเขียนบันทึกประจำวันแบบออนไลน์ หรือวารสาร เช่น LiveJournal.com ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ Blog เป็นที่แรก ๆ โดยรูปแบบของ Blog ที่ใช้งานง่ายนั้นทำให้ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้ามาทำ diary ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งคนทั่วไปมักจะเขียนโครงกลอน ร้อยแก้ว การร้องทุกข์การทำผิดกฎหมาย ประสบการณ์ประจำวัน และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ของ Blog ประเภทนี้ จะเกี่ยวกับเรื่องชีวิตเป็นส่วนใหญ่
    ไดอารีออนไลน์ ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา บางคนใช้ Blog เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งข้อความที่เขียนลงไปเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นนั้น เป็นการสื่อสารทางความคิด มีภาษา กริยา ท่าทางที่ไม่แสดงถึงความก้าวร้าว เปิดรับให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านได้อย่างสะดวก และผู้เขียนเองก็ไม่ได้ต้องการที่จะจดจำว่าใครที่ยังคงต้องการอ่านข้อมูล หรือใครที่เข้ามาอัพเดตข้อมูลความคิดเห็นใส่ลงไป ดังนั้น Blog ประเภทนี้จึงเป็นที่แห่งการรอคอยผู้ที่ปรารถนาจะอ่านมันเท่านั้น
    Blog เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ส่วนบุคคลอย่างนี้มีทิศทางว่าจะเป็นที่นิยมและยังครอบคลุมไปถึงเครือข่ายทางสังคมออนไลน์เข้าไปด้วย เช่นที่ Myspace.com และ Xanga.com
    PhotoBlog
    PhotoBlogs จะประกอบไปด้วย แกลลอรี่รูปภาพที่เปิดกว้างให้เข้าไปดูรูปได้ มีคำบรรยายใต้ภาพ ซึ่งคำบรรยายเหล่านั้นจะทำให้มีความสำคัญ หรือไม่สำคัญก็ได้ ก็อยู่ที่ผู้ใช้ ผู้บรรยาย อย่างที่ sketchBlog ก็มีความใกล้เคียงกับการเป็น photoBlogs แต่เป็น Blog ที่มุ่งเน้นไปที่ภาพสเก็ตช์ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นฐานที่ต้องใช้สายตาเป็นหลัก
    Political
    Political Blogs ได้รับการต้อนรับจากสื่อ และนักวิชาการมากขึ้น ซึ่ง Blog ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะนำเสนอความเคลื่อนไหวของข่าวสาร โดยบาง Blog จะมีลิงค์บทความจากหน้าเว็บไซต์ข่าวเข้าไปด้วย และบ่อยครั้งที่มีการเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป ซึ่ง Blog ชนิดนี้หลาย ๆ แห่งก็มีฟีเจอร์สำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างมากมายใส่ไว้
    warBlog.com เป็นตัวอย่างของ Blog อันหนึ่งที่ให้ความใส่ใจอย่างมาก เกี่ยวกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ทีเกี่ยวกับสงคราม บางครั้งเราก็ใช้คำว่า warBlog เพื่อบอกความหมายในเชิงที่ว่า Blog นั้นมีความโน้มเอียงไปในเรื่องสงคราม
    Science
    นักวิทยาศาสตร์ ก็มีการใส่ความรู้สึกให้หล่อหลอมเข้าไปใน Blog เช่นกัน บางครั้งเราจะเห็นว่ามีบางความคิดเห็นที่เป็นเส้นทางใหม่ที่ชาญฉลาด นำมาตีแผ่ให้ได้อ่านกัน มีการอภิปรายข้อมูล ซึ่งบาง Blog ก็มีข้อมูลที่ดูน่ากลัว ดูน่าจะเป็นอันตรายแต่นักวิทยาศาสตร์บางคนก็มีแนวทางการนำเสนอที่ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งก็ต้องเลือกอ่านกัน
    ShockBlog
    ShockBlogs มีเนื้อหาส่วนใหญ่ไปในเชิงของการสร้างความดึงดูดใจ แต่ไปในทางของการสร้างความตกใจ (shock) และ Aggressive มากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้หรือเรื่องที่มีการนำเสนอทางวารสารมาแล้ว โดยอาจจะเป็นบทความที่น่าสนใจ แปลกใหม่ หรือเป็นเรื่องธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสจากทั่วทุกมุมโลกที่น่าเขียนถึงก็ได้
    Spam
    SpamBlogs หรือ Splogs นั้น เป็นรูปแบบของการโฆษณาที่บีบบังคับผู้อ่านเป็นอย่างมาก ซึ่งมันก็เหมือนกับ Spam อีเมลล์นั่นแหละ โดย Splogs จะมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ จะชอบใช้อักษรตัวหนา ใช้คำที่มีการเรียกร้อง ชักจูงใจอย่างรุนแรง ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็นสมาชิกใน Splogs นั้น
    จะมีการส่งลิงค์ของเว็บไซต์สมาชิก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีเนื้อหาในทำนองเดียวกัน ไปหาผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ บ่อย ๆ
    Topical
    TopicalBlogs จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ มีกลุ่มคนที่ชื่นชอบแบบเดียวกันเฉพาะกลุ่ม เช่น GoogleBlog ซึ่งจะเป็นเรื่องราวข่าวสารของ Google มีกลุ่มคนรัก Google มาแสดงความคิดเห็นกัน ซึ่ง Blog แบบ Topical นี้ Blog หนึ่งอาจมีแค่หัวข้อทั่วไปกับหัวข้อหลักเท่านั้น ทิศทางของ Blog ประเภทนี้ก็คือ จะต้องบริหารความต้องการของ Bloggers ว่าใครที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับ Blog ของเรา และยังต้องบริหารความสัมพันธ์กับผู้อ่านที่ต้องการเข้ามาค้นหาข้อมูลที่เขาสนใจ ให้ได้ข้อมูลอย่างตรงประเด็น
    LocalBlog หรือ Blog ท้องถิ่นนั้น ก็เป็นหนึ่งใน TopicalBlog ด้วยเช่นกันซึ่งคนท้องถิ่นในแต่ละที่ก็จะมีเหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจให้พูดถึงแตกต่างกันออกไป
    Vlog
    Vlog หรือ VideoBlog จะประกอบไปด้วยเนื้อหาทางด้านวิดีโอ ขึ้นไปโพสตติดเอาไว้เป็นหลัก เช่น http://video.google.com
    Travel
    TravelBlogs เป็นหนึ่งในชนิดของ Blog ที่ได้รับความนิยมสูงมาก ๆ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชอบที่จะแบ่งปันประสบการณ์ เรื่องราวในวันหยุดลาพักร้อนที่ได้ไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ และรูปภาพกับเพื่อน ๆ ครอบครัว และคนในชุมชนเว็บไซต์เดียวกัน อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่เยี่ยมยอดที่จะทำให้นักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับผู้คนที่อยู่ที่นั่น หลังกลับมายังบ้านของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ให้กับชีวิต
    ที่มา : นิตยสาร E - COMMERCE
    ฉบับเดือน มิถุนายน 2549

    ประเภทของ Blog

    โดยทั่วไปเราร้อยเรียง Blog กันก็ตามจิตใจความรู้สึกส่วนตัวที่ออกมา หรือเขียนเพราะอยากเผื่อแผ่เรื่องราวดีๆ สนุกๆ ตื่นเต้น หรือ ประสบการณ์ เพื่อเล่าให้บุคคลอื่นได้รับรู้ไว้เป็นอุธาหรณ์ แต่เราอาจเผลอบางอย่างไป ว่าการเขียน Blog มีหลายหมู่ซึ่งเราไม่ค่อยจะใส่ใจ วันนี้จึงนำเรื่องประเภทของ บล็อก มาเล่าสู่กันฟังโดยแบบอย่างการเขียน Blog แบ่งตามลักษณะของเนื้อหาในการเขียน คือ
    1. Personal Blog เป็นการเขียน Blog แบบ เล่าข้อความโดยส่วนตัว บรรยายถึงความเข้าใจใคร่ครวญ หรือเรื่องในชีวิตประจำวันที่ได้เจอะเจอของบุคคลนั้นๆ เล่าเรื่องราวประกาศต่างๆ ที่ตัวเองประสบพบเห็น หรือมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือบางครั้งเรียกรูปแบบนี้ว่า การเรียบเรียงแบบ ไดอารี่ ก็ได้
    2. Topical Blog เป็นการเขียน Blog โดย มีวัตถุประสงค์ในการเขียนที่เด่น อาจจะเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องใจหรือมีความเข้าใจ ในเรื่องนั้นๆ อย่างเชี่ยวชาญ เช่น กีฬาบาสเกตบอล เป็นต้น หรือเกี่ยวกับเพลงที่ซาบซึ้งใจ วิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการเขียนลักษณะนี้จะอ้างอิงจากหัวข้อเป็นหลัก จะเล่าเรื่องนอกเหนือจากหัวข้อไม่มากนัก
    3. Collaborative Blog เป็นการเขียน Blog แบบเป็นทีม พร้อมใจกันเขียน ช่วยกันพัฒนา ซึ่งภายใน บล็อก อาจจะมีเหตุการณ์หลากหลาย ซึ่งอาจเขียนโดยผู้เขียนคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยแต่ละคนจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของบัญชี ให้ทำการร้อยเรียงบทความหรือรับผิดชอบเฉพาะส่วนไป
    4. Corporate Blog เป็นการเขียน Blog เชิง ธุรกิจ โดยบริษัทหรือสมาคมต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงสถานีของตน หรือเป็นตัวเสริมในการเล่าให้ความรู้เสริมเพิ่มเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการ ตัวอย่างของสมาคม มี corporate blog เช่น Sun Microsystems,IBM,HP,Yahoo และ Google เป็นต้น โดย Blog ของสมาคม เป็นประจำแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Internal blog และ External blog
      โดย Internal blog เป็นบล็อกภายในที่ถูกจัดให้มีขึ้นเพื่อบุคลากรของสมาคม และสามารถเข้าถึงได้เฉพาะเครือข่ายของสมาคมเท่านั้น ส่วน External blog เป็นบล็อกที่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นบุคลากรสามารถเข้าถึงได้ เช่น ลูกค้าองค์กร เป็นต้น
    5. Specialty Blog เป็นการเขียน Blog แบบพิเศษนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ยกตัวอย่าง เช่น Blog ที่เขียนขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการซึ่งจัดขึ้นในกรณีพิเศษ การป่าประกาศรับบริจาค การประกวดแข่งขันต่างๆ เป็นต้น
    Blog
    ประโยชน์ของ Blogger

    ประโยชน์ของ Blog สามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
    1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
    2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
    3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
    4. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
    5. และอื่นๆ อีกมากมาย
    ** อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่